วัดชัยมงคลธรรมวราราม(ไหล่หินใหม่ ธ.)
กรุณา Log in เข้าสู่ระบบ
หรือ สมัครสมาชิก กับเราก่อน เพื่อเข้าสู่ระบบ


ขอบคุณที่มาเยือน
ขอให้ทุกท่าน เจริญด้วย อายุ วรรณะ สุขะ พละ ตลอดกาลนานเทอญ

ติดต่อ. วัดชัยมงคลธรรมวราราม(วัดไหล่หินใหม่ ธ.) ต.ไหล่หิน อ.เกาะคา จ.ลำปาง 52130
โทร. 0-5427-4011

Join the forum, it's quick and easy

วัดชัยมงคลธรรมวราราม(ไหล่หินใหม่ ธ.)
กรุณา Log in เข้าสู่ระบบ
หรือ สมัครสมาชิก กับเราก่อน เพื่อเข้าสู่ระบบ


ขอบคุณที่มาเยือน
ขอให้ทุกท่าน เจริญด้วย อายุ วรรณะ สุขะ พละ ตลอดกาลนานเทอญ

ติดต่อ. วัดชัยมงคลธรรมวราราม(วัดไหล่หินใหม่ ธ.) ต.ไหล่หิน อ.เกาะคา จ.ลำปาง 52130
โทร. 0-5427-4011
วัดชัยมงคลธรรมวราราม(ไหล่หินใหม่ ธ.)
Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.
ข่าวประชาสัมพันธ์
วัดชัยมงคลฯ ขอเชิญเข้าร่วมโครงการสร้างชุมชนเข้มแข็งและการพัฒนาอย่างยั่งยืน ตามหลักปรัชญาพอเพียง >>รายละเอียด
ธรรมะสว่างใจเรื่องร่วมสร้างชุมชนเข้มแข็งและสังคมคุณธรรม>>รายละเอียด
เชิญพุทธศาสนิกชนทุกท่านร่วมทำวัตรเช้า(05.00 น.)-เย็น(20.00 น.)

เพิ่มเติม ข่าวโครงการ  ข่าวกิจกรรม
ค้นหา
 
 

Display results as :
 


Rechercher Advanced Search


ประวัติ บ้านไหล่หิน

Go down

ประวัติ บ้านไหล่หิน Empty ประวัติ บ้านไหล่หิน

ตั้งหัวข้อ by chaimongkol Thu Jul 16, 2009 2:56 am

<<หน้าแรก

ประวัติ บ้านไหล่หิน Sdc12417ประวัติ บ้านไหล่หิน Sdc12418


ประวัติบ้านไหล่หินโดยสังเขป
ตำบลไหล่หิน อำเภอเกาะคา
จังหวัดลำปาง เรียบเรียงโดย นายดวงจันทร์ ครุขยัน

กิระดังได้ยินมาว่า บ้านไหล่หิน หมู่ที่ 2 ตำบลไหล่หิน อำเภอเกาะคา
จังหวัดลำปาง ห่างจากที่ว่าการอำเภอเกาะคา ไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือประมาณ 6 กิโลเมตรเศษ มีแม่น้ำแม่ยาวไหลผ่านอุดมสมบูรณ์ไปด้วยพืชพันธุ์ธัญญาหาร และพร้อมพรั่งไปด้วยโบราณสถานโบราณวัตถุที่หาดูได้ยากในสมัยนี้แล้วยังมีปูชนียบุคคลที่ควรกราบไหว้บูชาควรแก่การทัศนาเป็นอย่างยิ่งมีสถานศึกษาและยังมีวัดในพระพุทธศาสนาสำหรับเป็นที่พึ่งทางใจอยู่ถึง 2 วัดด้วยกัน คือ
1. วัดเสลารัตนปัพพตาราม(ไหล่หินหลวงแก้วช้างยืน) ซึ่งเป็นวัดที่เก่าแก่ทางศิลปกรรมและได้ขึ้นทะเบียนกำหนดเป็นเขตโบราณสถานในราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 97 ตอนที่ 159 ลงวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2523 สิ่งปลูกสร้างภายในเขตพุทธาวาส และบริเวณเขตสังฆาวาสนับว่าเป็นศิลปแบบลานนาไทยมีลวดลายแพรวพราวมีรูปทรงที่สวยงามมากแบบลานนาซึ่งหาดูได้ยากในสิ่งปลูกสร้างในสมัยนี้พร้อมทั้งพระธาตุเจดีย์ที่ได้บรรจุพระบรมสารีริกธาตุขององค์พระสัมมา
สัมพุทธเจ้าและพระบรมธาตุก็ได้บรรจุก่อนวัดพระธาตุลำปางหลวง จึงมีความเชื่อว่าวัดไหล่หินหลวงเป็นพี่วัดพระธาตุลำปางหลวงในพระวิหารนอกจากจะมีพระประธานแล้วยังมีรูปปั้นของพระมหาป่าเกสรปัญโญประดิษฐานเพื่อที่จะได้สักการะบูชาอีกด้วย ภายในโรงธรรมมีคัมภีร์ใบลานอันเก่าแก่ของลานนาไทยอันเป็นที่น่าสนใจของนักค้นคว้านักศึกษานักโบราณคดีอยู่ในขณะนี้และได้สำรวจทำทะเบียนพระคัมภีร์ใบลานของสยามสมาคมในพระบรมราชูปถัมถ์ไว้แล้ว ซึ่งเป็นเอกสารจารึกเป็นภาษาบาลีมีอายุเกินกว่า 500 ปี จึงทำให้เรารู้ว่าเรามีอักษรลานนาไทยใช้มาแล้วเกินกว่าครึ่งสหัสพรรษ์ขึ้นไปทำให้เราทราบว่าหนังสือไตเหนือมีมาก่อนที่ลายสือไทยของพ่อขุนรามคำแหงเรานั่นเองคัมภีร์บางเรื่องมีอายุเกินกว่าพันปี คือมีอายุ 1,136 ปี ชื่อ “ปณณาสนิบาติ” จารเมื่อ จ.ศ. 192 เลขที่สำรวจ ส.ส.ล.ป. 396/2509 มี 7 ผูก รวม 250 หน้า ยาว 57½ ซ.ม. กว้าง 5 ซ.ม. มี 5 บรรทัดต่อ 1 หน้า และทางวัดได้รวบรวมวัตถุโบราณสมัยต่างๆ อาทิ พระแก้วมรกต พระเครื่องลาง เครื่องปั้นดินเผาเครื่องเงินทองและของใช้ทุกอย่างในสมัยโบราณไว้ในพิพิธภัณฑ์ให้ประชาชนผู้สนใจได้ทัศนศึกษาอีกด้วย และยังมีป่าขนาดเล็ก เต็มไปด้วยต้นไม้ยาง ยืนต้นเป็นตระหง่าน แต่ละต้นมีอายุนับหลายร้อยปี สมัยก่อนเมื่อ 40 กว่าปี ได้มีฝูงอีแร้ง อีกา มาอาศัยอยู่เป็นจำนวนมากจนถึงพ.ศ.2510 ไม่ทราบว่า อีแร้ง อีกาทั้งฝูงได้อพยพไปอยู่ในแห่งหนตำบลใดมิทราบ โดยมีลำน้ำแม่ยาวไหลผ่านเปรียบเสมือนเป็นสายโลหิต หล่อเลี้ยงเหล่าประชา ที่อาศัยอยู่ตามลำน้ำแม่ยาวเป็นอย่างดี ณ พ.ศ. 2534 โดยมีพระอธิการทอง อนามโย ( ทอง จอมแปง) เป็นเจ้าอาวาส
2. วัดชัยมงคลธรรมวราราม (ไหล่หินใหม่) สร้างเมื่อ พ.ศ. 2480 โดยพ่อผู้ใหญ่ป้อ ครุขยัน ได้บริจาคที่ดินและเป็นประธานสร้างพร้อมด้วยคณะศรัทธาบ้านไหล่หิน เพื่อถวายให้หลวงพ่อท่านพระครูธรรมาภิวงศ์เจ้าคณะจังหวัดลำปาง (ธรรมยุติ) ในสมัยนั้นสิ่งปลูกสร้างเป็นแบบสมัยใหม่ภายในพระวิหาร(ต่อมาได้ผูกพัทธสีมา)ได้ประดิษฐานพระประธาน ซึ่งมีพุทธลักษณะสวยงามมาก ควรแก่การกราบไหว้บูชาเป็นอย่างยิ่งเป็นปูชนียสถานสำคัญภายในวัดด้วยเหตุนี้วัดไหล่หินใหม่จึงเป็นสำนักของนักปราชญ์ นักปฏิบัติธรรม ได้รับการอุปถัมภ์จากคณะศรัทธาทั้งในหมู่บ้านและทั่วทุกสารทิศเป็นอย่างดีจึงทำให้วัดไหล่หินใหม่เจ้าอาวาสส่วนมากเป็นผู้แตกฉานในทางธรรมเป็นเลิศทำให้วัดเป็นศูนย์รวมวรรณกรรมอันล้ำค่าเป็นสถานที่ยึดเหนี่ยวทางใจ
เป็นศาสนสถานที่น่าสนใจอาทิในแต่ละปีจะมีกิจกรรมในวันสำคัญทาพระพุทธศาสนามาโดยตลอดโดยพระอาจารย์ผู้ทรงคุณธรรมในการเผยแพร่ธรรมะ ณ พ.ศ. 2534 คือ พระครูมงคลชัยสุนทร (จรัญ วรรณมณี)
เดิมทีก่อนที่ พระอรหันต์เจ้า จะมาสร้างวัด และสร้างองค์พระธาตุเจดีย์เพื่อที่จะบรรจุพระบรมสารีริกธาตุที่วัดไหล่หินหลวงนั้นชาวบ้านได้อาศัยอยู่ตามไหล่เขาเป็นหมู่บ้านอยู่แล้วส่วนชาวบ้านกลุ่มนี้ไม่ได้ปรากฏหลักฐานว่าได้อพยพมาจากแห่งหนตำบลใดมาตั้งรกรากอยู่ในหมู่บ้านนี้แต่สำเนียงภาษาในการพูดคล้ายกับสำเนียงของชาวนพบุรีศรีนครพิงค์(เชียงใหม่)มาจากปู่ทอนปู่ยักข์ ส่วนหมู่บ้านไหล่หินมีมาก่อนแล้วต่อมาเกิดเป็นหมู่บ้านที่ใหญ่โตมาจนถึงปัจจุบันนี้


แก้ไขล่าสุดโดย chaimongkol เมื่อ Sun Jul 19, 2009 4:10 pm, ทั้งหมด 3 ครั้ง

chaimongkol
Admin

จำนวนข้อความ : 54
Join date : 03/06/2009
ที่อยู่ : ต.ไหล่หิน อ.เกาะคา จ.ลำปาง 52130

http://chaimongkol.forumth.com

ขึ้นไปข้างบน Go down

ประวัติ บ้านไหล่หิน Empty Re: ประวัติ บ้านไหล่หิน

ตั้งหัวข้อ by chaimongkol Thu Jul 16, 2009 2:56 am

การศึกษา
 พ.ศ. 2470 ได้เปิดโรงเรียนสอนหนังสือประถมต้นเป็นสมัยแรกในตำบลไหล่หิน โดยใช้ชื่อว่า “โรงเรียนไหล่หิน 1 “ เปิดสอนที่วัดไหล่หินหลวง โดยใช้ศาลาของวัดเป็นสถานที่สอน ใช้ข่วงศรี (ลานหน้าวัด) เป็นสนามเด็กเล่น และใช้ไม้ค้ำศรีเป็นเสาวิ่งธง มีพ่อครูหนานแก้ว วรรณมณี เป็นครูผู้สอน เปิดสอนได้เพียง 2 รุ่น
รุ่นที่ 1 พ.ศ. 2470 – 2471 มีนักเรียนเท่าที่จำได้มี พ่อกำนันอินสม วรรณมณี พร้อม-ทั้งนักเรียนในบ้านไหล่หิน และหมู่บ้านใกล้เคียงมาเรียนเป็นจำนวนมากโดยมีพ่อครูหนานแก้ว วรรณมณี เป็นผู้สอน
รุ่นที่ 2 พ.ศ. 2472 –2474 โดยมีพ่อครูหนานแก้ว วรรณมณี, พ่อครูเตี่ยม (ไม่ทราบนามสกุล) และพ่อครูค่าย (ไม่ทราบนามสกุล) จากในเมืองลำปางมาเป็นครูผู้สอน มีนักเรียนเท่าที่จำได้ คือ พ่อหลวงหนานเกษม ภักตรา, พ่อหลวงน้อยสุข เทพหินลัพ, พ่อหลวงน้อยเสาร์ บุญเรือง, พ่อหลวงน้อยแสน ปะละ, พ่อครูน้อยบุญจันทร์ คำนวล, พ่อหลวงอ้วน เกษณา, พ่อหลวงคุ่ย ปินตา และพ่อหลวงสม เทพหินลัพพร้อมทั้งนักเรียนบ้านไหล่หิน และหมู่บ้านใกล้เคียงมาเรียนกันเป็นจำนวนมาก
 พ.ศ. 2475 ได้ย้ายโรงเรียนไปทำการสอนที่วัดเข้าซ้อน โดยมีพ่อกำนันก๋องแก้ว อุดไชยา เป็นกำนัน โดยใช้ศาลาวัดเข้าซ้อนเป็นสถานที่สอนหนังสือ มีนักเรียนหมู่บ้านใกล้เคียงเดินทางไปเรียนต่อที่วัดเข้าซ้อนเพราะย้ายไปตามตำแหน่งของกำนัน
 พ.ศ. 2485 ได้ก่อตั้งโรงเรียนประถมศึกษาตอนต้นขึ้น ในสมัย นายหม่อง ชลพล เป็นผู้ใหญ่บ้าน คุณครูมณี รุมารถ เป็นครูใหญ่ โดยใช้ที่ดินในเขตธรณีสงฆ์ของวัดไหล่หินหลวงเป็นที่ตั้งโรงเรียน ใช้ชื่อว่า “โรงเรียนบ้านไหล่หิน 7 วัดไหล่หิน”
 พ.ศ. 2488 ได้ทำการเปิดสอนโรงเรียนศึกษาผู้ใหญ่ประถมต้นขึ้น โดยมีคุณครูมณี รุมารถ เป็นครูผู้สอน ได้เปิดสอนในตอนกลางคืน วันละ 2 ชั่วโมง สอนที่โรงเรียนบ้านไหล่หิน สำหรับการศึกษาผู้ใหญ่ได้ทำการเปิดสอนอีก ในสมัยเจ้าอธิการศรีวรรณ จกฺกวโร (ตาวี) เป็นเจ้าคณะตำบลไหล่หิน / เจ้าอาวาสวัดไหล่หินหลวง เปิดสอนในปี พ.ศ. 2517 โดยมีคุณครูสว่าง
คำลือ เป็นครูผู้สอน สถานที่ทำการสอนคือ ศาลาการเปรียญวัดไหล่หินหลวง สอนในระดับมัธยมต้น
 พ.ศ. 2501 ได้เปิดโรงเรียนระดับ อนุบาลขึ้น โดยมี แม่ครูจันทร์เตี่ยง การุณ และแม่ครูยุพิน วรรณมณี (มณีวงค์) เป็นครูผู้สอน โดยได้เปิดทำการสอน ณ ใต้ถุนบ้าน พ่อศรีโท แม่นวล อินหลี (บ้านบน) และได้ย้ายไปเปิดทำการสอนต่อที่บ้าน พ่อน้อยพุฒ แม่คำมูล เทพหินลัพ (บ้านลุ่ม) ข้าพเจ้าผู้เขียนได้มีโอกาสเรียนทั้ง 2 แห่ง เป็นการริเริ่มทำการสอนระดับโรงเรียนอนุบาล (ก่อนวัยเรียน) ของบ้านไหล่หินเป็นครั้งแรก มีนักเรียนในหมู่บ้านไปเรียนเป็นจำนวนมาก สมัยพ่อกำนันอินสม วรรณมณี เป็นกำนัน
 พ.ศ. 2503 ได้ก่อตั้งโรงเรียนประถมปลายขึ้นในสมัยพ่อกำนันอินสม วรรณมณีเป็นกำนัน โดยมี คุณครูสนอง สิทธิวุฒิ เป็นครูใหญ่ต่อมาเปลี่ยนเป็นโรงเรียนเกาะคาวิทยาคมสอนถึง ม.ศ.3 เพื่อเด็กในตำบลไหล่หินและในอำเภอเกาะคาจะได้มีที่เรียนมีความรู้ทัดเทียมในเมือง และได้เปลี่ยนเป็นโรงเรียนไหล่หินวิทยาจนถึงปัจจุบันเดิมทีสถานที่ตั้งโรงเรียนเป็นธรณีสงฆ์ ชาวบ้านใช้เป็นป่าช้าสำหรับฝังศพ จึงยกเป็นโรงเรียนดังกล่าว ในสมัยพ่อกำนันอินสม วรรณมณี เป็นกำนันตำบลไหล่หิน เพื่อเด็กจะได้มีความรู้และเป็นทรัพยากรบุคคลที่ดี มีคุณภาพ

chaimongkol
Admin

จำนวนข้อความ : 54
Join date : 03/06/2009
ที่อยู่ : ต.ไหล่หิน อ.เกาะคา จ.ลำปาง 52130

http://chaimongkol.forumth.com

ขึ้นไปข้างบน Go down

ประวัติ บ้านไหล่หิน Empty Re: ประวัติ บ้านไหล่หิน

ตั้งหัวข้อ by chaimongkol Thu Jul 16, 2009 2:57 am

การปกครอง
สมัยก่อนบ้านไหล่หินปกครองกันแบบเป็นเอกราช มีพระยาเป็นที่ปรึกษาเกี่ยวกับความทุกข์ร้อนของชาวบ้านไม่ว่าจะเกิดการวิวาทหรือลักเล็กขโมยน้อยก็ต้องพากันไปหาพ่อพระยาให้ตัดสินคดีความเป็นสิทธิ์ขาด
พ.ศ. 2435 ทางการได้แต่งตั้งกำนัน ผู้ใหญ่บ้านเป็นครั้งแรกโดยเริ่มที่อำเภอบางปะอินจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ในสมัยพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว( ร. 5) ได้เปลี่ยนแปลงการปกครองให้กำนันผู้ใหญ่บ้านปกครองในระดับตำบลและหมู่บ้าน


พระยา
พระยาที่ปรากฏมี 1. พระยาต๊ะ
2. พระยาศรีวิเลิศ
3. พระยาอุตม์
4. พระยาอินทจักร์
ต่อมา พ.ศ. 2457 ทางการเริ่มเปลี่ยนแปลงการปกครองได้แต่งตั้งกำนันผู้ใหญ่บ้านให้ปกครองในระดับหมู่บ้าน ตำบล ปกครองกันเองได้ขยายมาตามหัวเมืองต่างๆโดยทางตำบลไหล่หินได้เริ่มรับการแต่งตั้ง กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ในปี พ.ศ. 2457 นี้เป็นครั้งแรก ดังปรากฏ รายชื่อกำนันผู้ใหญ่บ้านที่ได้รับการแต่งตั้งในหมู่บ้านไหล่หิน มีดังนี้

กำนันผู้ใหญ่บ้าน
1. พระยาอินทจักร์ ไม่ปรากฏพ.ศ. เป็นกำนัน ต.ไหล่หิน
2. พ่อแสนวงค์ ภักตรา -------- “ -------- เป็นผู้ใหญ่บ้าน
3. นายอิ่นคำ วรรณมณี 18 ก.พ. 2460 - 29 ก.ย. 2466 เป็นกำนัน ต.ไหล่หิน
4. นายป้อ ครุขยัน 29 ก.ย. 2466 - 20 เม.ย. 2480 เป็นผู้ใหญ่บ้าน
5. นายหม่อง ชลพล 20 เม.ย. 2480 - 4 มี.ค. 2494 เป็นผู้ใหญ่บ้าน
6. นายอินสม วรรณมณี 4 มี.ค. 2494 - 10 พ.ค. 2510 เป็นกำนัน ต.ไหล่หิน
7. นายผจญ เชียงพรหม 1 ก.ย. 2510 - 1 ต.ค. 2512 เป็นผู้ใหญ่บ้าน
8. นายอินสม วรรณมณี 1 ต.ค. 2512 - 27 ม.ค. 2516 เป็นผู้ใหญ่บ้าน
9. นายวิโรจน์ ปินตา 27 ม.ค. 2516 - 15 พ.ค. 2518 เป็นผู้ใหญ่บ้าน
10. นายเจริญ ดวงชัย 15 พ.ค. 2518 - 26 ส.ค. 2523 เป็นผู้ใหญ่บ้าน
11. นายรุ่งโรจน์ ปินตา 26 ส.ค. 2523 - 14 มี.ค. 2524 เป็นผู้ใหญ่บ้าน
12. นายประดิษฐ์ รุมารถ 14 มี.ค. 2524 - 27 เม.ย.2527 เป็นผู้ใหญ่บ้าน
13 .นายศรีวรรณ ตาวี 27 เม.ย. 2527 - 15 เม.ย. 2544 เป็นกำนัน ต.ไหล่หิน
14. นายละเอียด บุญเรือง 25 เม.ย. 2544 - 25 เม.ย.2549 เป็นกำนัน ต.ไหล่หิน
15. นายเพิ่มศักดิ์ จินะการ 20 พ.ค. 2545 - 30 เม.ย.2549 เป็นผู้ใหญ่บ้าน หมู่ 2
16. ด.ต.กิจชนะชัย ปะละ 21 มิ.ย. 2549 - ปัจจุบัน เป็นกำนัน ต.ไหล่หิน
17. นายเพิ่มศักดิ์ จินะการ 30 พ.ค. 2549 – ปัจจุบัน เป็นผู้ใหญ่บ้าน หมู่ 2
ทางบ้านไหล่หินของเราจะเจริญรุ่งเรืองได้ก็เพราะอาศัยที่ท่านผู้ใหญ่บ้าน และกำนัน ดังรายนามดังกล่าวนี้ช่วยชักนำความเจริญมาสู่หมู่บ้าน จนบ้านไหล่หินเป็นศูนย์กลางของตำบลไหล่หิน จนเป็นหมู่บ้านพัฒนาเป็นที่เชิดหน้าชูตาของปวงชนและผู้มาเยือนตลอดมา จนได้รับรางวัลดีเด่นหลายๆ ด้าน หลายยุคหลายสมัย
สมัยพ่อกำนันอินสม วรรณมณี ได้พัฒนาขยายถนนหนทางภายในหมู่บ้านให้กว้างขวางเพื่อการสัญจรไปมาสะดวกสบายขึ้น ได้สร้างศาลาประชาคมสถานีอนามัย สถานศึกษาล้วนแล้วแต่เป็นการนำมาซึ่งความเจริญมาสู่หมู่บ้านแทบทั้งสิ้น และกำนันผู้ใหญ่บ้านรุ่นต่อ ๆ มาก็ได้พัฒนาให้หมู่บ้านเจริญรุดหน้ามาตามกาลสมัยตลอดจนถึงปัจจุบัน

chaimongkol
Admin

จำนวนข้อความ : 54
Join date : 03/06/2009
ที่อยู่ : ต.ไหล่หิน อ.เกาะคา จ.ลำปาง 52130

http://chaimongkol.forumth.com

ขึ้นไปข้างบน Go down

ประวัติ บ้านไหล่หิน Empty Re: ประวัติ บ้านไหล่หิน

ตั้งหัวข้อ by chaimongkol Thu Jul 16, 2009 2:57 am

สมาชิกฌาปนกิจศพ
สมาชิกฌาปนกิจศพสงเคราะห์ ของบ้านไหล่หิน เริ่ม เมื่อ พ.ศ. 2495 ศพแรก คือศพของนายใจ๋มา ปัจจักร์ ในสมัยพ่อกำนันอินสม วรรณมณี เป็นกำนัน/ผู้ใหญ่บ้าน โดยการริเริ่มของ นายตำรวจ คือ พ.ต.ท. สมพงษ์ เชียงพรหม (ส.ต.ท.สมพงษ์ ในสมัยนั้น) เพื่อผ่อนคลายความเดือนร้อนของเจ้าภาพและญาติของผู้ตาย เพราะว่าตอนนั้นเงินทองเริ่มหายากเป็นสมัยที่ข้าวยากหมากแพง พอครอบครัวใดมีการตายลงเจ้าภาพมักจะไปกู้หนี้ยืมสินมาจากผู้มีอันจะกินภายในหมู่บ้าน โดยจะนำที่นาไปฝากบ้าง หรือกู้ยืมเงินในลักษณะอื่นบ้าง เริ่มเก็บครั้งแรก ครอบครัวละ 3 บาท (สามบาทถ้วน) ต่อมาก็เก็บเป็น 5, 10, 20, 30 ต่อ 1 ครอบครัว และพ่อกำนันอินสมก็ได้เริ่มสมาชิกเครือญาติ เป็นครอบครัวละ 50 บาท แต่ไม่เป็นภาคบังคับ จนถึงสมัยนายศรีวรรณ ตาวี เป็นกำนันเริ่มเก็บเป็นรายบุคคล ๆ ละ 10 บาท จนถึงปัจจุบันนี้

การฌาปนกิจศพสมัยก่อน
สมัยก่อนไม่นิยมการเก็บศพ พอเกิดมีคนตายขึ้นมาก็จะรีบนำศพไปฝังในป่าช้า ไม่ว่าจะเป็นตอนกลางวันหรือตอนกลางคืนก็จะจุดคบเพลิง (จุดไต้) ส่องนำทางเพื่อไปฝังเลย ถ้าจะเก็บศพอย่างช้าก็แค่ 1 คืน ต่อมาเป็นประมาณ 3 วันเท่านั้น ศพที่จะเก็บนานได้ก็มีแต่ ศพของพระสงฆ์องค์เจ้าและศพของผู้ที่มีฐานะที่พอมีอันจะกินเท่านั้น ถ้าจะเก็บศพก็กลัวว่าจะเป็นภัยแก่ตัวเองและบ้านเมือง ตายแล้วรีบถวายทานเลย หรือว่าจะรอไปอีกประมาณ 1-3 ปี ช่วงที่มีเงินทองพอจะทำบุญก็ค่อยทำบุญตามไปทีหลัง

ปัจฉิมบท “ไหล่หิน”
อนุสนธิ จากคำว่า “ไหล่หิน” “หล่ายหิน” “ละหิน” เพราะว่าภูมิประเทศแถบนั้นมีภูเขา (ดอย) ลูกเล็กๆ ลูกหนึ่งเป็นที่ตั้งของวัดไหล่หินหลวง และปริมณฑลของดอยลูกนี้ส่วนใหญ่จะเป็นหินตามธรรมชาติเป็นพื้นที่กว้างไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนด้านทิศเหนือเป็นทุ่งนา
ทิศตะวันตกเป็นป่าไม้ยาง มีลำน้ำแม่ยาวไหลผ่าน และเป็นทุ่งนา ทิศใต้เป็นหมู่บ้านไหล่หิน คำว่า ไหล่หิน ก็เป็นรูปธรรมมาจากหมู่บ้านอยู่ไหล่เขา (ดอย) หรือว่าเชิงดอยที่มีแต่ลูกหินของภูเขา (ดอย) ลูกนี้ อาทิคำว่าไหล่มาจากนามของหมู่บ้านอยู่ตามไหล่เขา(ดอย)หรือว่าเชิงดอยเหมือนกับคำที่กรมทางหลวงใช้“ระวังกองวัสดุบนไหล่ทาง”ไม่ได้หมายถึงอยู่บนผิวถนนโดยตรงแต่อยู่ข้างทางหรือว่าไหล่ทางคำว่าไหล่หินก็มาจากเหตุผลข้างต้นนี้แลส่วนคำว่า “หล่ายหิน” ก็มาจากปริมณฑลของหมู่บ้านอยู่หล่ายภูเขา(ดอย)ลูกที่มีแต่หินเพราะผู้คนส่วนใหญ่จะเดินทางมานมัสการพระธาตุ
วัดไหล่หินหลวง หรือมาสร้างวัดไหล่หินหลวงจะเป็นผู้มีจิตศรัทธามาจากทิศเหนือ อาทิ มาจากเชียงตุง, เชียงใหม่, ลำพูน ในยุคแรกๆ จนถึงปัจจุบัน
สรุปก็คือหมู่บ้านนี้ตั้งอยู่หล่ายเขา (ดอย) หินลูกนี้ จึงเป็นหมู่บ้านหล่ายหินฉะนี้แลแต่คำว่า “ละหิน” ก็เหมือนกับคำพูดเพี้ยนมาจากคำแรก อาทิวัดพระธาตุลำปางหลวงเป็นวัดพระธาตุล่ำปางหลวง, จังหวัดลำพูน เป็น หละปูน,“ไปหาของกิ๋น” คนสมัยก่อนมักจะออกเสียงเป็น “ไปหาหองกิ๋น” และชื่อของป่าละเมาะบนม่อนหินลูกนี้ ก็ยังเรียกว่า “แพะละหิน”ตั้งแต่โบราณกาลมาจนถึงปัจจุบันนี้จึงเป็นเหตุผลของชื่อบ้านละหิน ดังกล่าวนี้แล

chaimongkol
Admin

จำนวนข้อความ : 54
Join date : 03/06/2009
ที่อยู่ : ต.ไหล่หิน อ.เกาะคา จ.ลำปาง 52130

http://chaimongkol.forumth.com

ขึ้นไปข้างบน Go down

ขึ้นไปข้างบน


 
Permissions in this forum:
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ